วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด


แบบฝึกหัด
1. จงคำนวณหาจำนวนโมลของสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้
    ค. เลด(II) ไนเตรต (Pb(NO3)2)  82.75 กรัม
        หาโมลจาก    n =  m / M

(Pb(NO3)2) = 207 + ( 14 x 2 ) + (16 x 6 ) = 331

n =  82.75 / 331
   = 0.25 mol
   จำนวนโมลของ (Pb(NO3)2 = 0.25 mol


   ง. ดีบุก (Sn) 17.5 กรัม
    หาโมลจาก    n =  m / M
 Sn = 119
n = 17.5 / 119
   =  0.147 mol
จำนวนโมลของ Sn = 0.147 mol

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงสถานะของของแข็ง

ระบบและการเปลี่ยนแปลงของสาร
ระบบ (system) หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในขอบเขตที่ต้องการศึกษา
การกำหนดองค์ประกอบของระบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจนสิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ

เช่น การศึกษาการละลายของน้ำตาลทรายในน้ำ อ่านต่อเพิ่มเติม

ชนิดของผลึก

ผลึกของของแข็ง แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
 1.ผลึกไอออนิก (Ionic crystal) อนุภาคของผลึกประเภทนี้จะเป็นไอออนบวก
 และไอออนลบเรียงตัวสลับกันไปในลักษณะสามมิติ แข็งแต่เปราะ มีจุดหลอมเหลวและ
จุดเดือดสูง ขณะเป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้าแต่เมื่อหลอมเหลวหรืออยู่ในรูปสารละลาย
จะสามารถนำไฟฟ้าได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยๆ ได้แก่ สารประกอบออกไซด์ของโลหะหมู่ 1

และหมู่ 2 เกลือเฮไลด์ของโลหะ อ่านต่อเพิ่มเติม

การจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง

ธาตุต่างๆ บางชนิดในธรรมชาติจะมีการจัดเรียงตัวของอะตอมในรูปของโมเลกุล
ได้หลายรูปแบบ เราเรียกว่าอัญรูป (allotrope) ของธาตุเช่นกำมะถันมีโครงสร้าง
ผลึกเป็นรอมบิก (rhombic) และมอนอคลินิก(monoclinic)การที่สารสามารถ
ปลี่ยนโครงสร้างจากแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งได้ภายใต้ภาวะอุณหภูมิ และความดันค่าหนึ่ง
เราเรียกอุณหภูมินี้ว่า จุดแทรนซิชัน (transition point) อ่านต่อเพิ่มเติม



สมบัติของแข็ง

 สมบัติของของแข็ง 
 1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
โมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน

ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ อ่านต่อเพิ่มเติม

การคํานวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ  เราเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี 
สิ่งที่แสดงอยู่ในสมการเคมีจะประกอบด้วยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยา
เคมีนั้น ๆ  รวมทั้งภาวะต่าง ๆ ของการเกิดปฏิกิริยาด้วยสมการเคมีจะช่วยให้
เราคิดคำนวณค่าต่าง ๆของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น  เช่น 

มวลหรือน้ำหนักของสารเคมีที่ถูกใช้ไป หรือที่เกิดขึ้นใหม่ 
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานและอื่น ๆ  อ่านต่อเพิ่มเติม

สมการเคมี

สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น
(อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์
โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ
ตัวอย่างสมการเคมี อ่านต่อเพิ่มเติม